คลื่น C ของ Flat/Zigzag ที่มี 3 คลื่น
Share
... ในบทความนี้เราจะได้มาเรียนรู้เรื่อง สิ่งที่ค่อนข้างจะขัดกับสามัญสำนึกของคนส่วนใหญ่กัน .. ซึ่งก็คือ ‘คลื่น C ที่มี 3 คลื่น..
คลื่น C เป็นคลื่นๆนึง ที่ อยู่ใน Standard Correction ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น Flat, Zigzag, Triangle
โดยจะเป็น คลื่น ลำดับที่สาม ของ ชุดรูปแบบ ทั้ง 3 รูปแบบ ก็คือ..
Flat a-b-(c)
Zigzag a-b-(c)
Triangle a-b-(c)-d-e
โดยที่ ในบทความนี้เราจะหยิบยก ในส่วนของคลื่น C ของ รูปแบบ Flat และ Zigzag มาใช้เป็นโจทย์หลักที่เราจะมาคุยกันในบทความนี้..
มือใหม่ หลายๆท่าน อาจเคยได้เรียนมาก่อนหน้านี้ว่า โครงสร้าง ภายในของ Flat และ Zigzag นั้น มีโครงสร้างเป็น 3-3-5 และ 5-3-5 ตามลำดับ..
ซึ่งเจ้ารหัสโครงสร้างเหล่านี้ โดยแท้จริงแล้ว มันสื่อถึงเพียง ลักษณะพฤติกรรมภายในของคลื่นนั้นๆ ไม่ใช่จำนวนขาของรูปแบบ..
โดยที่รหัส 3/5 จะสื่อถึง คลื่น Corrective(คลื่นระยะพักตัว) และ คลื่น Impulsive(คลื่นระยะปรับตัวมีแนวโน้ม) ตามลำดับ..
สิ่งแรกที่หลายคนจะพลาด คือ การไปเข้าใจ โดยผสมผสานความคิดเอาเองว่า คลื่นใดๆ ที่เป็นรหัส 5 จะต้องมี 5 คลื่น เท่านั้น, แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ถูกต้อง..
รหัสโครงสร้าง มีไว้เพื่อทำให้เราสามารถ ตรวจวัด, ทดสอบ, ยืนยัน โครงสร้าง โดยผ่านการกำหนดเป็น Impulsive หรือ Corrective เท่านั้น..
ในบางกรณี คลื่นนั้นๆ มันอาจเป็นเส้นเดี่ยวๆ ก็ได้ ซึ่งก็คือ Monowave นั่นเอง..
ตอนนี้เราเข้าใจกันแล้วนะครับ ว่า คลื่นใดๆที่มีรหัส 5 ไม่จำเป็นต้องมี 5 คลื่น แต่หากไม่มี 5 คลื่น ก็จะเป็นเพียง หนึ่ง คลื่น เท่านั้น ซึ่งก็คือ Monowave..
แต่ประเด็นที่ทำให้คน งง และ มีปัญหา กับส่วนนี้ ก็คือ รหัส 5 แสดงถึง ลักษณะโครงสร้างแบบ Impulsive และ รูปแบบใดล่ะ ที่เป็น Impulsive? ก็มีแค่หมวดเดียวเลย ก็คือ Impulsion และมีแค่สองรูปแบบ ก็คือ Trending และ Terminal.. ซึ่งมันก็มี 5 คลื่น..
ดังนั้น คนจะไปติดว่า เจอรหัส 5 ต้องนับให้ได้ 5 คลื่น ซึ่งจริงๆแล้ว มันไม่ถูกต้อง, เรายังมีเรื่อง Monowave มาอีกครับ..

ดังนั้น สรุปพาร์ทแรก คือ เราเจอคลื่นที่มีรหัส 5 เราไม่จำเป็นต้องพยายามนับยัด ให้มี 5 คลื่น เพราะบางที มันอาจจะเป็น Monowave หรือคลื่นเดี่ยวๆก็ได้ครับ..
.
.
.
💥 จุดแตกหักมันอยู่ตรงนี้ครับ, ผมได้จั่วหัวบทความว่า คลื่น C มี 3 คลื่น, แต่จนถึงตอนนี้ผมบอกว่า คลื่น C ของ Flat หรือ Zigzag จะต้องมี 5 เท่านั้น หรือไม่ก็เป็น Monowave แล้ว แบบนี้ คลื่น C มันจะมี 3 คลื่นได้อย่างไร?...
บางทีหลายๆท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้.. อาจจะลองย้อนนึกถึงไปยังตอนที่เรากำลังวิเคราะห์คลื่นอยู่ แล้วบางทีเราไปเจอคลื่น C ที่มีรหัส 5 อย่างของ Flat และ Zigzag, ในบางที ‘มันไม่ได้มี 5 คลื่น หรือ 1 คลื่น อย่างที่ตำราบอกไว้ ใช่ไหมครับ?’...
ซึ่งหากเราเจอคลื่น คลื่น C ที่โครงสร้างโดยรอบ ตามทฤษฎี มันบอกให้เรากำหนดเป็นรหัส 5 และต้องมีคลื่น Trending / Terminal อย่างใดอย่างนึงเกิดเท่านั้น หรือไม่ก็ เป็น คลื่นเดี่ยว Monowave ไปเลย..
แต่คลื่นนั้น มันดันมี 3 คลื่น.. (แอดว่าหลายๆคนน่าจะเคยเจอ)..
พอเป็นแบบนี้ ตำราจะให้ตัวเลือกกับเรา สองอย่างคือ ..
1. ตำราจะบอกว่า เรา เป็นคนนับผิด
หรือ
2. ตำราจะบอกว่า ตำรา มีข้อแก้ตัว
ในส่วนแรก ‘ตำราบอกว่า เรา นับผิด’
ตรงนี้เราก็ต้องเอากฎที่สำคัญต่างๆก่อนหน้านี้มาเช็คให้ถูกต้องก่อน ซึ่งการเช็คกฎใหม่ เพียงแค่ 1-2 ครั้งก็จะช่วยให้เราวิเคราะห์ได้ไหลลื่นมากยิ่งขึ้น..
ในส่วนที่สอง ‘ตำราจะมีข้อแก้ตัว’..
ในส่วนนี้ คือ ต่อให้เราวิเคราะห์ยังไงก็แล้ว เช็คกฎยังไงก็แล้ว ดูตำแหน่งตลาด ทุกอย่างถูกต้องหมด ว่าคือ รหัส 5 และควรจะมี 1 คลื่นไปเลย ไม่ก็ 5 คลื่นไปเลย แต่มันดันมี 3 คลื่น ซึ่งเป็นคลื่นเลขคี่ที่อยู่ระหว่างลำดับ 1 และ 5 (1-3-5)..
แล้วข้อแก้ตัว นั้น คืออะไร?
ข้อแก้ตัวนั้น คือ หลักการที่มีชื่อว่า 'Missing Wave', ซึ่งหมายถึง คลื่นที่หายไป..
ยกตัวอย่างเหตุการณ์..
วันดีคืนดี มีนักเรียนคนนึงของแอด กำลังนั่งวิเคราะห์กราฟทองคำ, แล้วไปเจอลักษณะกราฟ โครงสร้าง Flat ที่มีรหัส 3-3-5 ซึ่งคลื่น C จะเป็นรหัส 5 โดยนั่นหมายถึง มีความเป็นไปได้สองอย่าง คือ ต้องมี 5 คลื่น หรือหาก ไม่มี ก็ต้องเป็น Monowave...
แต่นักเรียนของแอดคนนั้น เค้ากลับเจอว่า คลื่น C นั้น มันมี 3 คลื่น และจะวิเคราะห์อย่างไร ก็ไม่สามารถนับเป็น 5 คลื่น หรือ 1 คลื่นได้เลยจริงๆ
นักเรียนคนนั้น กลับไปทบทวนอ่านหนังสือ Mastering Eliott Wave.. จนไปเจอหลักการนึง อยู่ท้ายๆบทของบทที่ 12.. ซึ่งหลักการนั้นมีชื่อว่า 'Missing Wave'..
เจ้าหลักการนี้จะอ้างอิงถึงคลื่น ที่หายไป โดยคลื่นเหล่านั้น จะเป็นคลื่น Corrective ที่หายไป/หรือซ่อนอยู่ ภายในคลื่นที่เป็นเทรนด์ (Impulsive)..
หลักการนี้ ก็มีการเขียนเหตุผลรองรับไว้สำหรับเหตุการณ์ที่นักเรียนของแอดกำลังเจอเช่นกัน..
หลักการบอกว่า
‘หากเราเจอ โครงสร้างลักษณะที่มี 3 คลื่น อยู่ภายใน คลื่น รหัส 5 นั่นแสดงว่า อาจ มีคลื่นลำดับที่ 4 หรือ ลำดับที่ 2 กำลังซ่อนอยู่‘..
และนี่คือเหตุผล จากหนังสือ ว่าทำไมบางทีเราอาจจะเจอ คลื่น 3 คลื่น ภายในคลื่นรหัส 5..
.
.
.
แต่มันก็ฟังดูจะขัดแย้งกับเรื่องดีกรีของคลื่น ใช่ไหมครับ..
คลื่น ที่เล็กมากจนมองไม่เห็น, ดันมามีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงสร้างหลัก..
และนอกจากคลื่น C ที่เป็นรหัส 5 แล้วมีคลื่น 3 คลื่นอยู่ภายใน, คลื่น B คลื่นรหัส 3 บางทีเราอาจเจอโครงสร้าง 1-2-3-4-5 ภายในก็ได้เช่นกัน แต่หนังสือก็จะให้เราแบ่งครึ่งของ ส่วนที่ 3 และบอกว่า มันคือ Non-Standard เพื่อให้มันสอดคล้องกับโครงสร้างรหัส 3 เพราะ Non-Standard เป็นรหัส 3 ซึ่งสามารถเกิดใน B ที่มีรหัสภายในเป็น 3 ได้ครับ..
.
.
.
แถมบางทีคลื่นย่อยก็เกิดมั่วซั่วไปหมด เช่น คลื่น Impulse ไปเกิดในคลื่น a ของ Flat บ้างล่ะ, คลื่น Non-Standard ไปเกิดในคลื่น a ของ Zigzag บ้างล่ะ..
ถ้าเราจะต้องมาไล่ให้เหตุผลที่มันขัดแย้งกับเรื่องดีกรีคลื่นแบบนี้ ทำไมเราไม่ลองคิดว่า หรือ บางที เราไม่ได้ผิด ตลาดไม่ได้ผิด แต่สมมติฐานของทฤษฎีผิดเองหรือเปล่า? ..
.. แต่แน่นอน, บทความนี้ไม่ใช่การโจมตีว่าทฤษฎีผิดแต่อย่างใด เป็นเพียงการแชร์อีกมุมมองนึงก็เท่านั้น...
.
.
.
ส่วนตัวแล้วแอดมองว่า คลื่นย่อยเป็นเพียงความน่าจะเป็นก็เท่านั้น คลื่นย่อยเป็นคลื่นที่จะมีกี่ขาก็ได้ รูปแบบใดก็ได้ ขอแค่ ยังสอดคล้องกับภาพหลักอยู่เท่านั้น ก็เพียงพอแล้ว..
เราไม่มีความจำเป็นต้องนำรหัสคลื่นมากำหนด และ จำกัดความเป็นไปได้ของรูปแบบต่างๆที่จะเกิดขึ้น เช่น กำหนด คลื่นที่เป็นเทรนด์รุนแรงอย่าง Triple Zigzag ว่า อย่างไรก็ตามจะเป็น Corrective และเกิดได้แค่ Terminal เท่านั้น และคลื่นรหัส 3 อื่นๆ..
การที่มันจะมีกี่ขา ไม่มีความจำเป็นจะต้องไปบังคับตลาด, เรามองถึงความน่าจะเป็น แล้วเราจะนับคลื่นง่ายขึ้น และทำกำไรได้ครับ
เพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไร..
เคยเจอมั้ย คลื่นย่อย ไม่ตรงรหัสคลื่น?
หรือ มีข้อโต้แย้งกับเนื้อบทความของแอดตรงใด..
เรามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสุภาพกันนะครับ ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ..
คลื่น C เป็นคลื่นๆนึง ที่ อยู่ใน Standard Correction ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น Flat, Zigzag, Triangle
โดยจะเป็น คลื่น ลำดับที่สาม ของ ชุดรูปแบบ ทั้ง 3 รูปแบบ ก็คือ..
Flat a-b-(c)
Zigzag a-b-(c)
Triangle a-b-(c)-d-e
โดยที่ ในบทความนี้เราจะหยิบยก ในส่วนของคลื่น C ของ รูปแบบ Flat และ Zigzag มาใช้เป็นโจทย์หลักที่เราจะมาคุยกันในบทความนี้..
มือใหม่ หลายๆท่าน อาจเคยได้เรียนมาก่อนหน้านี้ว่า โครงสร้าง ภายในของ Flat และ Zigzag นั้น มีโครงสร้างเป็น 3-3-5 และ 5-3-5 ตามลำดับ..
ซึ่งเจ้ารหัสโครงสร้างเหล่านี้ โดยแท้จริงแล้ว มันสื่อถึงเพียง ลักษณะพฤติกรรมภายในของคลื่นนั้นๆ ไม่ใช่จำนวนขาของรูปแบบ..
โดยที่รหัส 3/5 จะสื่อถึง คลื่น Corrective(คลื่นระยะพักตัว) และ คลื่น Impulsive(คลื่นระยะปรับตัวมีแนวโน้ม) ตามลำดับ..
สิ่งแรกที่หลายคนจะพลาด คือ การไปเข้าใจ โดยผสมผสานความคิดเอาเองว่า คลื่นใดๆ ที่เป็นรหัส 5 จะต้องมี 5 คลื่น เท่านั้น, แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ถูกต้อง..
รหัสโครงสร้าง มีไว้เพื่อทำให้เราสามารถ ตรวจวัด, ทดสอบ, ยืนยัน โครงสร้าง โดยผ่านการกำหนดเป็น Impulsive หรือ Corrective เท่านั้น..
ในบางกรณี คลื่นนั้นๆ มันอาจเป็นเส้นเดี่ยวๆ ก็ได้ ซึ่งก็คือ Monowave นั่นเอง..
ตอนนี้เราเข้าใจกันแล้วนะครับ ว่า คลื่นใดๆที่มีรหัส 5 ไม่จำเป็นต้องมี 5 คลื่น แต่หากไม่มี 5 คลื่น ก็จะเป็นเพียง หนึ่ง คลื่น เท่านั้น ซึ่งก็คือ Monowave..
แต่ประเด็นที่ทำให้คน งง และ มีปัญหา กับส่วนนี้ ก็คือ รหัส 5 แสดงถึง ลักษณะโครงสร้างแบบ Impulsive และ รูปแบบใดล่ะ ที่เป็น Impulsive? ก็มีแค่หมวดเดียวเลย ก็คือ Impulsion และมีแค่สองรูปแบบ ก็คือ Trending และ Terminal.. ซึ่งมันก็มี 5 คลื่น..
ดังนั้น คนจะไปติดว่า เจอรหัส 5 ต้องนับให้ได้ 5 คลื่น ซึ่งจริงๆแล้ว มันไม่ถูกต้อง, เรายังมีเรื่อง Monowave มาอีกครับ..

ดังนั้น สรุปพาร์ทแรก คือ เราเจอคลื่นที่มีรหัส 5 เราไม่จำเป็นต้องพยายามนับยัด ให้มี 5 คลื่น เพราะบางที มันอาจจะเป็น Monowave หรือคลื่นเดี่ยวๆก็ได้ครับ..
.
.
.
💥 จุดแตกหักมันอยู่ตรงนี้ครับ, ผมได้จั่วหัวบทความว่า คลื่น C มี 3 คลื่น, แต่จนถึงตอนนี้ผมบอกว่า คลื่น C ของ Flat หรือ Zigzag จะต้องมี 5 เท่านั้น หรือไม่ก็เป็น Monowave แล้ว แบบนี้ คลื่น C มันจะมี 3 คลื่นได้อย่างไร?...
บางทีหลายๆท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้.. อาจจะลองย้อนนึกถึงไปยังตอนที่เรากำลังวิเคราะห์คลื่นอยู่ แล้วบางทีเราไปเจอคลื่น C ที่มีรหัส 5 อย่างของ Flat และ Zigzag, ในบางที ‘มันไม่ได้มี 5 คลื่น หรือ 1 คลื่น อย่างที่ตำราบอกไว้ ใช่ไหมครับ?’...
ซึ่งหากเราเจอคลื่น คลื่น C ที่โครงสร้างโดยรอบ ตามทฤษฎี มันบอกให้เรากำหนดเป็นรหัส 5 และต้องมีคลื่น Trending / Terminal อย่างใดอย่างนึงเกิดเท่านั้น หรือไม่ก็ เป็น คลื่นเดี่ยว Monowave ไปเลย..
แต่คลื่นนั้น มันดันมี 3 คลื่น.. (แอดว่าหลายๆคนน่าจะเคยเจอ)..
พอเป็นแบบนี้ ตำราจะให้ตัวเลือกกับเรา สองอย่างคือ ..
1. ตำราจะบอกว่า เรา เป็นคนนับผิด
หรือ
2. ตำราจะบอกว่า ตำรา มีข้อแก้ตัว
ในส่วนแรก ‘ตำราบอกว่า เรา นับผิด’
ตรงนี้เราก็ต้องเอากฎที่สำคัญต่างๆก่อนหน้านี้มาเช็คให้ถูกต้องก่อน ซึ่งการเช็คกฎใหม่ เพียงแค่ 1-2 ครั้งก็จะช่วยให้เราวิเคราะห์ได้ไหลลื่นมากยิ่งขึ้น..
ในส่วนที่สอง ‘ตำราจะมีข้อแก้ตัว’..
ในส่วนนี้ คือ ต่อให้เราวิเคราะห์ยังไงก็แล้ว เช็คกฎยังไงก็แล้ว ดูตำแหน่งตลาด ทุกอย่างถูกต้องหมด ว่าคือ รหัส 5 และควรจะมี 1 คลื่นไปเลย ไม่ก็ 5 คลื่นไปเลย แต่มันดันมี 3 คลื่น ซึ่งเป็นคลื่นเลขคี่ที่อยู่ระหว่างลำดับ 1 และ 5 (1-3-5)..
แล้วข้อแก้ตัว นั้น คืออะไร?
ข้อแก้ตัวนั้น คือ หลักการที่มีชื่อว่า 'Missing Wave', ซึ่งหมายถึง คลื่นที่หายไป..
ยกตัวอย่างเหตุการณ์..
วันดีคืนดี มีนักเรียนคนนึงของแอด กำลังนั่งวิเคราะห์กราฟทองคำ, แล้วไปเจอลักษณะกราฟ โครงสร้าง Flat ที่มีรหัส 3-3-5 ซึ่งคลื่น C จะเป็นรหัส 5 โดยนั่นหมายถึง มีความเป็นไปได้สองอย่าง คือ ต้องมี 5 คลื่น หรือหาก ไม่มี ก็ต้องเป็น Monowave...
แต่นักเรียนของแอดคนนั้น เค้ากลับเจอว่า คลื่น C นั้น มันมี 3 คลื่น และจะวิเคราะห์อย่างไร ก็ไม่สามารถนับเป็น 5 คลื่น หรือ 1 คลื่นได้เลยจริงๆ
นักเรียนคนนั้น กลับไปทบทวนอ่านหนังสือ Mastering Eliott Wave.. จนไปเจอหลักการนึง อยู่ท้ายๆบทของบทที่ 12.. ซึ่งหลักการนั้นมีชื่อว่า 'Missing Wave'..
เจ้าหลักการนี้จะอ้างอิงถึงคลื่น ที่หายไป โดยคลื่นเหล่านั้น จะเป็นคลื่น Corrective ที่หายไป/หรือซ่อนอยู่ ภายในคลื่นที่เป็นเทรนด์ (Impulsive)..
หลักการนี้ ก็มีการเขียนเหตุผลรองรับไว้สำหรับเหตุการณ์ที่นักเรียนของแอดกำลังเจอเช่นกัน..
หลักการบอกว่า
‘หากเราเจอ โครงสร้างลักษณะที่มี 3 คลื่น อยู่ภายใน คลื่น รหัส 5 นั่นแสดงว่า อาจ มีคลื่นลำดับที่ 4 หรือ ลำดับที่ 2 กำลังซ่อนอยู่‘..
และนี่คือเหตุผล จากหนังสือ ว่าทำไมบางทีเราอาจจะเจอ คลื่น 3 คลื่น ภายในคลื่นรหัส 5..
.
.
.
แต่มันก็ฟังดูจะขัดแย้งกับเรื่องดีกรีของคลื่น ใช่ไหมครับ..
คลื่น ที่เล็กมากจนมองไม่เห็น, ดันมามีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงสร้างหลัก..
และนอกจากคลื่น C ที่เป็นรหัส 5 แล้วมีคลื่น 3 คลื่นอยู่ภายใน, คลื่น B คลื่นรหัส 3 บางทีเราอาจเจอโครงสร้าง 1-2-3-4-5 ภายในก็ได้เช่นกัน แต่หนังสือก็จะให้เราแบ่งครึ่งของ ส่วนที่ 3 และบอกว่า มันคือ Non-Standard เพื่อให้มันสอดคล้องกับโครงสร้างรหัส 3 เพราะ Non-Standard เป็นรหัส 3 ซึ่งสามารถเกิดใน B ที่มีรหัสภายในเป็น 3 ได้ครับ..
.
.
.
แถมบางทีคลื่นย่อยก็เกิดมั่วซั่วไปหมด เช่น คลื่น Impulse ไปเกิดในคลื่น a ของ Flat บ้างล่ะ, คลื่น Non-Standard ไปเกิดในคลื่น a ของ Zigzag บ้างล่ะ..
ถ้าเราจะต้องมาไล่ให้เหตุผลที่มันขัดแย้งกับเรื่องดีกรีคลื่นแบบนี้ ทำไมเราไม่ลองคิดว่า หรือ บางที เราไม่ได้ผิด ตลาดไม่ได้ผิด แต่สมมติฐานของทฤษฎีผิดเองหรือเปล่า? ..
.. แต่แน่นอน, บทความนี้ไม่ใช่การโจมตีว่าทฤษฎีผิดแต่อย่างใด เป็นเพียงการแชร์อีกมุมมองนึงก็เท่านั้น...
.
.
.
ส่วนตัวแล้วแอดมองว่า คลื่นย่อยเป็นเพียงความน่าจะเป็นก็เท่านั้น คลื่นย่อยเป็นคลื่นที่จะมีกี่ขาก็ได้ รูปแบบใดก็ได้ ขอแค่ ยังสอดคล้องกับภาพหลักอยู่เท่านั้น ก็เพียงพอแล้ว..
เราไม่มีความจำเป็นต้องนำรหัสคลื่นมากำหนด และ จำกัดความเป็นไปได้ของรูปแบบต่างๆที่จะเกิดขึ้น เช่น กำหนด คลื่นที่เป็นเทรนด์รุนแรงอย่าง Triple Zigzag ว่า อย่างไรก็ตามจะเป็น Corrective และเกิดได้แค่ Terminal เท่านั้น และคลื่นรหัส 3 อื่นๆ..
การที่มันจะมีกี่ขา ไม่มีความจำเป็นจะต้องไปบังคับตลาด, เรามองถึงความน่าจะเป็น แล้วเราจะนับคลื่นง่ายขึ้น และทำกำไรได้ครับ
เพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไร..
เคยเจอมั้ย คลื่นย่อย ไม่ตรงรหัสคลื่น?
หรือ มีข้อโต้แย้งกับเนื้อบทความของแอดตรงใด..
เรามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสุภาพกันนะครับ ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ..